ประวัติวัดบุญเย็น
วัดบุญเย็น ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 2 บ้านปากกาง ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อ “วัดปากกาง” เหตุที่มาของชื่อนี้คือ วัดบุญเย็น หรือวัดปากกาง ตั้งอยู่ระหว่างน้ำแม่กางและน้ำแม่ยมได้ไหลบรรจบพบกัน ณ น้ำแม่ยม เรียกว่าปากน้ำแม่กาง ในหมู่บ้านแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าบ้านปากกาง และตำบลปากกาง น้ำแม่กาง เหตุที่ได้ชื่อนี้ คือ ในลำห้วยตรอดจนถึงขุนห้วย (ต้นกำเนิดแม่น้ำกาง) ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งมีใบลำต้นคล้ายต้นหางนกยูงสูงเรียว มีดอกคล้ายดอกผักกระถิน ชาวพื้นเมืองเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นกาง” เมื่อสร้างบ้าน สร้างวัด จึงได้ชื่อว่า วัดปากกาง (บุญเย็น) วัดปากกางเมื่อเป็นสำนัก ที่พักสงฆ์ นั้นสร้างมาเมื่อใดปีไหนไม่มีใครสามารถบอกได้ เพราะไม่มีบันทึก เล่าขานบอกต่อที่แน่ชัด ดูตามคนโบราณได้เขียนไว้ตามฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ บางองคฺสร้างเมื่อ ศักราช 1224 บางองค์ สร้างขึ้นเมื่อ จุลศักราช 146 นับว่าเก่าแก่มาก เข้าใจว่าแรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านได้ช่วยกันแผ้วถางป่าเอาเองและได้สร้างเป็นสำนักที่พักสงฆ์ขึ้น
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2381 ได้ขอตั้งสร้างวัดและเปลี่ยนชื่อเดิมวัดปากกาง มาเป็นวัดบุญเย็น ตามความเชื่อของชาวบ้านว่าบุญเย็น จำทำให้ชาวบ้านชาวเมืองได้อยู่ร่มเย็น เป็นสุข หมดทุกข์ หมดโศก โรคภัย อุปัทวอันตรายทั้งปวง สันติสุขโชคลาภ จึงบังเกิดมีแก่ชาวบ้าน ชาวเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า วัดบุญเย็น ตั้งแต่บัดนั้นมาเป็นต้นมาสมัยก่อนนั้นชาวบ้านได้จ้างช่างปั้นพระประธานจากเมือง ลำพูล ปั้นด้วยดินกี่ โบกด้วยดินและปูนขาว นับตั้งแต่ปั้นพระประธานมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2547 โดยประมาณมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 กว่าปี ก่อนหน้านั้นพระประธานเป็นพระไม้ได้ชำรุดและเสียหายไปตามกาลเวลา เหลือแต่องค์เล็กองค์น้อยในปัจจุบัน วัดบุญเย็น ตั้งแต่สร้างวัด ขึ้น ทะเบียนถูกต้องตามกรมการศาสนามานั้นมีเจ้าอาวาส และรักษาการไม่แน่นอน อยู่นานบ้างไม่นานบ้าง ร้างไม่มีพระจำพรรษาบ้าง เท่าที่ทราบมี 1. พระตัน 2. พระอธิการเหมย 3.พระใบฎีกาจันทิมา 4.พระอธิการแป๋ง 6. พระอธิการอุ่นเรือง 7.พ.ศ.2490 พระอธิการดำรงค์ ธามธมฺโม (โสภารัตวัน) ในสมัยพระอธิการดำรงค์ ธามธมฺโม เป็นเจ้าอาวสนั้น เมื่อพรรษา 10 พ.ศ.2500 กึ่งพุทธกาลได้ปรึกษาหารือกับพี่น้องชาวบ้านทั้งในตำบล ทั้งในอำเภอลองว่าจักได้เททองหล่อพระพุทธรูป เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมืองลอง จึงได้ปรึกษาหารือพระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะตรวจการภาค 5 เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมือง เจ้าคณะอำเภอลอง และเจ้าคณะพระสังฆาธิการในที่ประชุม ได้พร้อมใจกันตั้งชื่อพระพุทธรูปที่ทำการหล่อนั้นตามนามเดิมของเมืองลองก่อนนั้นชื่อว่า เมืองเชียงชื่น เมื่อสำเร็จพรมวลแล้วจึงใส่ชื่อนามว่า “พระพุทธเชียงชื่น” ทำการหล่อพระพุทธเชียงชื่นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 8 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้ ) พ.ศ.2500 ณ วัดบุญเย็นได้เฉลิมฉลองสมโภชปิดทอง องค์พระพุทธเชียงชื่น นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อถึงเดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้) ขึ้น 8 ค่ำ ทางวัดและคณะศรัทธาจึงจัดงานสมโภชปิดทององค์พระพุทธเชียงชื่นเป็นประจำทุกปีถึงปัจจุบัน คือว่าพระพุทธเชียงชื่นเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวลองควรแก่การสักการะกราบไหว้ยิ่งนัก
ประวัติพิธีหล่อพระพุทธเชียงชื่น ปี 2500 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ( 3 ใต้ ) ขึ้น 8 ค่ำ วันพฤหัสบดีตรงกับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 ซึ่งเป็นคู่เมืองของชาวอำเภอลอง โดยได้รับมอบแผ่นเงินแผ่นทองจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารพระอารามหลวง และเป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 5 พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า พระพุทธเชียงชื่น เพราะอดีตเดิมเรียกว่า เมืองเชียงชื่น เลยชื่อมาเป็นเมืองลองปัจจุบัน