แหล่งเรียนรู้ » วัดบุญเย็น

วัดบุญเย็น

10 มีนาคม 2019
1054   0

ประวัติวัดบุญเย็น

วัดบุญเย็น ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 2 บ้านปากกาง ต.ปากกาง อ.ลอง จ.แพร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อ “วัดปากกาง” เหตุที่มาของชื่อนี้คือ วัดบุญเย็น หรือวัดปากกาง ตั้งอยู่ระหว่างน้ำแม่กางและน้ำแม่ยมได้ไหลบรรจบพบกัน ณ น้ำแม่ยม เรียกว่าปากน้ำแม่กาง ในหมู่บ้านแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าบ้านปากกาง และตำบลปากกาง น้ำแม่กาง เหตุที่ได้ชื่อนี้ คือ ในลำห้วยตรอดจนถึงขุนห้วย (ต้นกำเนิดแม่น้ำกาง) ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งมีใบลำต้นคล้ายต้นหางนกยูงสูงเรียว มีดอกคล้ายดอกผักกระถิน ชาวพื้นเมืองเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นกาง” เมื่อสร้างบ้าน สร้างวัด จึงได้ชื่อว่า วัดปากกาง (บุญเย็น) วัดปากกางเมื่อเป็นสำนัก ที่พักสงฆ์ นั้นสร้างมาเมื่อใดปีไหนไม่มีใครสามารถบอกได้ เพราะไม่มีบันทึก เล่าขานบอกต่อที่แน่ชัด ดูตามคนโบราณได้เขียนไว้ตามฐานพระพุทธรูปเก่าแก่ บางองคฺสร้างเมื่อ ศักราช 1224 บางองค์ สร้างขึ้นเมื่อ จุลศักราช 146 นับว่าเก่าแก่มาก เข้าใจว่าแรกเริ่มเดิมทีชาวบ้านได้ช่วยกันแผ้วถางป่าเอาเองและได้สร้างเป็นสำนักที่พักสงฆ์ขึ้น

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2381 ได้ขอตั้งสร้างวัดและเปลี่ยนชื่อเดิมวัดปากกาง มาเป็นวัดบุญเย็น ตามความเชื่อของชาวบ้านว่าบุญเย็น จำทำให้ชาวบ้านชาวเมืองได้อยู่ร่มเย็น เป็นสุข หมดทุกข์ หมดโศก โรคภัย อุปัทวอันตรายทั้งปวง สันติสุขโชคลาภ จึงบังเกิดมีแก่ชาวบ้าน ชาวเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า วัดบุญเย็น ตั้งแต่บัดนั้นมาเป็นต้นมาสมัยก่อนนั้นชาวบ้านได้จ้างช่างปั้นพระประธานจากเมือง ลำพูล ปั้นด้วยดินกี่ โบกด้วยดินและปูนขาว นับตั้งแต่ปั้นพระประธานมาจนถึงปัจจุบัน พ.ศ.2547 โดยประมาณมีอายุไม่ต่ำกว่า 200 กว่าปี ก่อนหน้านั้นพระประธานเป็นพระไม้ได้ชำรุดและเสียหายไปตามกาลเวลา เหลือแต่องค์เล็กองค์น้อยในปัจจุบัน วัดบุญเย็น ตั้งแต่สร้างวัด ขึ้น ทะเบียนถูกต้องตามกรมการศาสนามานั้นมีเจ้าอาวาส และรักษาการไม่แน่นอน อยู่นานบ้างไม่นานบ้าง ร้างไม่มีพระจำพรรษาบ้าง เท่าที่ทราบมี  1. พระตัน  2. พระอธิการเหมย  3.พระใบฎีกาจันทิมา  4.พระอธิการแป๋ง  6. พระอธิการอุ่นเรือง  7.พ.ศ.2490 พระอธิการดำรงค์  ธามธมฺโม (โสภารัตวัน) ในสมัยพระอธิการดำรงค์ ธามธมฺโม เป็นเจ้าอาวสนั้น เมื่อพรรษา 10 พ.ศ.2500 กึ่งพุทธกาลได้ปรึกษาหารือกับพี่น้องชาวบ้านทั้งในตำบล ทั้งในอำเภอลองว่าจักได้เททองหล่อพระพุทธรูป เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวเมืองลอง จึงได้ปรึกษาหารือพระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะตรวจการภาค 5 เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมือง เจ้าคณะอำเภอลอง และเจ้าคณะพระสังฆาธิการในที่ประชุม ได้พร้อมใจกันตั้งชื่อพระพุทธรูปที่ทำการหล่อนั้นตามนามเดิมของเมืองลองก่อนนั้นชื่อว่า เมืองเชียงชื่น เมื่อสำเร็จพรมวลแล้วจึงใส่ชื่อนามว่า “พระพุทธเชียงชื่น” ทำการหล่อพระพุทธเชียงชื่นเมื่อวันพฤหัสบดีขึ้น 8 ค่ำ  เดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้ ) พ.ศ.2500 ณ วัดบุญเย็นได้เฉลิมฉลองสมโภชปิดทอง องค์พระพุทธเชียงชื่น นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา จนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อถึงเดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้) ขึ้น 8 ค่ำ ทางวัดและคณะศรัทธาจึงจัดงานสมโภชปิดทององค์พระพุทธเชียงชื่นเป็นประจำทุกปีถึงปัจจุบัน คือว่าพระพุทธเชียงชื่นเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวลองควรแก่การสักการะกราบไหว้ยิ่งนัก

ประวัติพิธีหล่อพระพุทธเชียงชื่น ปี 2500 ตรงกับเดือน 5 เหนือ ( 3 ใต้ ) ขึ้น 8 ค่ำ วันพฤหัสบดีตรงกับวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 ซึ่งเป็นคู่เมืองของชาวอำเภอลอง โดยได้รับมอบแผ่นเงินแผ่นทองจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารพระอารามหลวง และเป็นเจ้าคณะตรวจการภาค 5 พร้อมกับตั้งชื่อให้ว่า พระพุทธเชียงชื่น เพราะอดีตเดิมเรียกว่า เมืองเชียงชื่น เลยชื่อมาเป็นเมืองลองปัจจุบัน

       ในการหล่อพระพุทธเชียงชื่นได้เรียนแบบพระพุทธโกศัยศากยะมุณี ที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารอำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ มาเป็นองค์สืบต่อมา หลวงพ่อพระเดชพระคุณพระธรรมราชานุวัตร เจ้าอาวาสวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารและเจ้าคณะตรวจการภาค 5 จึงตังชื่อให้ว่าพระพุทธเชียงชื่น มาตราบทุกวันนี้ ในการหล่อครั้งนี้ได้รับทองเหลืองทองแดง และเหรียญสตางค์แดง 1 สตางค์ จากผู้มีจิตศรัทธาทุกๆ ตำบล ในอำเภอลอง ในการหล่อพระพุทธเชียงชื่น ประธานฝ่ายสงฆ์มีหลวงพ่อพระปลัดสุจี อดีตศึกษาจังหวัดฝ่ายสงฆ์ปัจจุบันเป็นหลวงพ่อพระมหาโพธิวงค์ษาจารย์ รองเจ้าคณะภาค 6 รูปที่ 1 ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษา เจ้าคณะภาค 6 มาเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ก่อนที่จะลงมือเททอง หลวงพ่อพระเดชพระคุณพระมหาโพธิวงค์ษาจารย์ ปัจจุบันเป็นผู้ทรงนำแห่นเงินแห่นทอง ลงสู่เบ้าและทรงด้ายสายสิญจน์ เททองหล่อพระพุทธเชียงชื่น นายชุมพล อุทยานิก นายอำเภอลอง และอดีตพระครูเกษมรัตนคุณ เจ้าคณะอำเภอลอง พร้อมด้วยพระเถรานุเถระผู้ทรงคุณวุฒิสวดพุทธาพิเษก หลวงพ่อพระเดชพระคุณวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเป็นผู้จุดเทียนชัย โดยมีหลวงพ่อพระครูเกษมรัตนคุณอดีตเจ้าคณะ อำเถอลอง เป็นประธานในพิธี เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2500 ตรงกับเดือน 5 เหนือ (เดือน 3 ใต้) ขึ้น 8 ค่ำ วันพฤหัสบดี หลวงพ่อพระมหาโพธิวงค์ษาจารย์ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเป็นผู้จุดเทียนวิปัสสี่ พระสงฆ์คุณวุฒิ จำนวน 17 รูป สวดพุทธาพิเษก เจริญพระพุทธมนนั่งบก (4มุม)
1. หลวงพ่อพระครูอดุลธรรมรังสี   วัดนาหลวง
2. หลวงพ่อสุข วัดโพธิบุพผาราม (บ้านปีน)
3. หลวงพ่อแก้ว ธมฺจักโก วัดเขื่อนคำลือ อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
4. หลวงพ่อคำภีระ   วัดพระธาตุศรีดอนคำ
 
1. หลวงพ่อเขียว ธมฺจักโก โปรยข้าว
2. หลวงพ่อพระครูเกษมรัตนคุณ เจ้าอาวาสและเจ้าคณะอำเภอลอง ดับเทียนชัย เทียนพิธี
กรรมการฝ่ายสงฆ์
1.พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระมหาโพธิวงค์ษาจารย์ เป็นประธาน
2. พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูเกษมรัตนคุณ เป็นรองปราน
3. พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูอดุลรัตนญาณ  เป็นรองประธาน เจ้าคณะตำบลทุกตำบลในอำเภอลอง เป็นกรรมการ และเจ้าอาวาสทุกวัดในอำเภอลอง เป็นกรรมการ
ประธานฝ่ายฆราวาส
1.นายชุมพล อุทยานิก นายอำเภอลอง เป็นประธาน
2. นายแกล้ว วิทยศิริ ศึกษาธิการอำเภอลอง เป็นรองประธาน
3. นายเกรียงศักดิ์ ไชยวัฒนานนท์ ปลัดอำเภอลอง เป็นรองประธาน
4. นายประยูร โสภารัตนากุล กำนันตำบลปากกาง เป็นรองประธาน
5. นายคำอ้าย   เขาคำ อดีตกำนันตำบลปากกาง เป็นรองประธาน
6. พ่อหนานพรม อินสา แพทย์ประจำตำบลปากกาง เป็นรองประธาน
7. กำนันผู้ใหญ่บ้านในอำเภอลอง และแพทย์ประจำตำบลทุกตำบล เป็นกรรมการ
นับตั้งแต่ พ.ศ.2502 เป็นต้นมายังมีรักษาการเจ้าอาวาสอีกหลายรูปคือ พระเขียว ธมฺมจกฺโก พระสมาน ธมฺธโร พระลูน สิริปุณฺโณ พระสาม ธิตฺตธมฺโม พระสมบรูณ์ ภูริทตฺโต ตั้งแต่ พ.ศ.2533 ถึงปัจจุบัน พระครูอุดมภัฒนาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส
           วัดบุญเย็น เลขที่ 66 หมู่ 2 ตำบลปากกาง อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ที่ดินตั้งวัดโฉนด 6 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือจดที่ดินเอกชน ทิศใต้จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกจดถนนสาธารณะ ทิศตะวันตกติดที่ดินเอกชน ที่ธรณีสงฆ์ 1 แปลงโฉนด เนื้อที่ 3 งาน 76 ตารางวา อาณาเขตทิศใต้ – ทิศตะวันตกติดถนนสาธารณะ ทิศเหนือ – ทิศตะวันออก ติดลำห้วยสาธารณะ
อาคารเสนาสนะ
1. อุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ.2519   1หลัง
2. วิหารประดิษฐานพระพุทธเชียงชื่น สร้างเมื่อ พ.ศ.2534 1 หลัง
3. กุฏิทรงไทย สร้างเมื่อ พ.ศ.2534 1 หลัง
4. หอกลอง หอระฆัง สร้างเมื่อ พ.ศ.2535
5. กุฏิเจ้าอาวาส สร้างเมื่อ พ.ศ.2537
6. ศาลาการเปรียญ สร้างเมื่อ พ.ศ.2540
7. กำแพง สร้างเมื่อ พ.ศ.2529
ปูชนีย์วัตถุสำคัญของวัด
1.พระพุทธเชียงชื่น หล่อเมื่อ พ.ศ.2500 1 องค์
2. พระประธานปูนปั้น อายุประมาณ 200 กว่าปี 1 องค์
3.พระพิมพ์แผงทำด้วยโลหะ ตะกั่ว ขาง และชิน 2 แผง สร้างเมื่อจุลศักราช 146
รายนามเจ้าอาวาสและรักษาการณ์เจ้าอาวาส
1. พระตัน
2. พระอธิการเหมย
3. พระใบฎีกาจันทิมา
4. พระอธิการหมื่น
5. พระอธิการแป๋ง
6. พระอธิการอุ่นเรือน พ.ศ.2489
7. พระอธิการดำรง  ธามธมฺโม พ.ศ.2490 – 2502
8. พระเขียว ธมฺมจกฺโก   พ.ศ.2502
9. พระสมาน ธมฺมธโร
10. พระลูน   สิริปุณฺโณ
11. พระสาม ธิตฺตธมฺโม พ.ศ.2524 – 2527
12. พระสมบรูณ์ ภูริทตฺโต พ.ศ.2528 – 2530
13. พระศรีรัตน์   พ.ศ.2531
14. พระหมื่น อุปสนฺโต พ.ศ.2532
15. พระครูอุดมพิพัฒนาภรณ์ พ.ศ.2533 ถึงปัจจุบัน
ที่มา http://www.10000fah.com/